ที่ปรึกษาทางการเงินคืออะไร ?

            ที่ปรึกษาทางการเงิน คือ ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการการบริหารการเงิน โดยมีหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือจัดทำแผนทางการเงิน เพื่อให้ผู้ที่ได้รับคำปรึกษา มีแนวทางและวิธีในการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการในอนาคต

มี แผนภาษี แผนบริหารรายรับ-รายจ่าย แผนการศึกษาบุตร แผนมรดก แผนเกษียณอายุ

FA คือ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หรือ “Financial Advisor” มืออาชีพให้คำปรึกษาทางด้านการเงินของลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิต ทั้งให้คำแนะนำเรื่อง การเก็บออม การทำประกัน การวางแผนการศึกษาบุตร วางแผนเกษียณ รวมไปถึงการแนะนำการลงทุนในหุ้น กองทุน อสังหาฯ ฯลฯ เพื่อให้เงินเก็บของลูกค้างอกเงย

IC Plain คือ “ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป” ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำได้ คือ ตราสารหนี้,ตราสารทุน,กองทุนรวม,Unit Link

IC Complex คือ “ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อน” แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

IP คือ“ผู้วางแผนการลงทุน”

  ประเภท IC / IP ตามโครงสร้าง License ใหม่

โดย IC จะถูกจัดแบ่งตาม ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ให้คำแนะนำได้ ซึ่งตามเกณฑ์ใหม่นี้ได้จัดแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

(1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ตราสารทั่วไป คือ หุ้ม/ตราสารทุน, กองทุนรวม และตราสารหนี้ ที่มีลักษณะไม่รับซ้อน

(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความรับซ้อน ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

2.1 กองทุนรวม และ ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะซับซ้อน

2.2 สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

IP สอบอะไรบ้าง

  ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ สอบฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ

  ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน สอบฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

หนังสือที่แนะนำ

CFP(Certified Financial Planner) คือ คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน

  การอบรม

ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงินภาษีและจรรยาบรรณ

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย

ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก

ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน

  การสอบ

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงินภาษีและจรรยาบรรณ

ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ฉบับที่ 4.1 การวางแผนภาษีและมรดก

ฉบับที่ 4.2 การจัดทำแผนการเงิน

            AFPT “Associate Fianancial Planner Thailand” มี 2 ประเภท ได้แก่

ที่ปรึกษาการเงินด้าน การลงทุน

  การอบรม

ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงินภาษีและจรรยาบรรณ

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน

  การสอบ

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงินภาษีและจรรยาบรรณ

ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ที่ปรึกษาทางด้าน การประกันชีวิต

สมัครสอบ IC ได้ 2 แห่ง คือ ATI และ AIMC

ศูนย์สอบทั้ง 2 แห่งนี้อยู่ที่อาคารเลครัชดา คอมเพล็กซ์ ตรงข้ามศูนย์สิริกิติ์

ศูนย์สอบทั้ง 2 แห่งมีวิธีการสมัครสอบที่ไม่แตกต่างกันมาก สามารถคลิกดูตามเว็บไซต์

ATl  http://www.ati-asco.org/testing_calendar.php

AIMC http://www.aimc.or.th/knowledge/index.php/test_center

สถาบันเอกชนที่จัดสอบและอบรม

ค่าสอบ IC

P1 : หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป 1,200.00 บาท

P2 : หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน(ตราสารหนี้และกองทุนรวม) 850.00 บาท

P3 : หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน(สัญญาซื้อขายล่วงหน้า) 950.00 บาท

*การขึ้นทะเบียนสามารถขึ้นได้ที่ https://www.sec.or.th/TH/Pages/home.aspx

*เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน IC

-สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

– สามารถสอบระหว่างเรียนอยู่ได้

– ผลการสอบมีอายุ 2 ปี

– ค่าใช้จ่าย 2,140 บาท ทั้ง (IC Plain, IC complex 3, IC Complex 2, IC Complex 1)

– หากจะสอบหลาย paper ควรรอขึ้นทะเบียนครั้งเดียว


สมัครสอบ CFP ได้ที่ https://www.tfpa.or.th/  สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

สมัครอบรม CFP ได้ที่ -Thaipfa: https://www.thaipfa.co.th/

                                 – CMSK : https://www.cmsk-academy.com/

ค่าใช้จ่ายในการอบรมวิชาละ 10,000 บาท (โดยประมาณ)

-อาจจะมี +vat

-อาจจะมีส่วนลด เช่น ส่วนลดนักศึกษา ส่วนลด Early Bird

การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ จำนวน 1,605 บาท/ชุดวิชา

หลักเกณฑ์รายละเอียดได้รับการยกเว้นการอบรม
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทจาก สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.พ.     มีใบอนุญาตปฏิบัติงานจากหน่วยงาน กำกับดูแล และยังคงดำรงสภาพดังกล่าว•วิชาบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) •ภาษีพื้นฐาน (Taxation) •มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money)   •วิชาการลงทุน (Investment) •การวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securitics Analysis)   •วิชาการประกันภัย(Insurance)     •ผู้แนะนำการลงทุนตราสาทั่วไป (IC Plain) •นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ •ผู้จัดการด้านการลงทุน   •ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ         ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน     ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย   ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน         ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย

การขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม จำนวน 5,350 บาท

ได้รับการยกเว้นการอบรมคุณวุฒิการศึกษาคุณวุฒิวิชาชีพ
            ชุดวิชาที่ 1-6ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ รับการรับรองจากสำนักงาน คณะกรรมการ ก.พ. ในสาขาวิชา • การเงิน • เศรษฐศาสตร์ • บริหารธุรกิจ • บัญชี•มีคุณวุฒิวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ – Cerified Public Accountant (CPA) •Certified Investment and Securities Analyst Program (CISA) (Level 3) •Chartered Financial Analyst (CFA) (Level 3) หรือ •คุณวุฒิวิชาชีพอื่นๆ ตามที่สมาคมฯ ให้ ความเห็นชอบ

AFPT : ไม่ต้องมีประสบการณ์การทำงาน

CFP : ประสบการณ์การทำงาน 3 ปี

หน่วยงานตำแหน่ง
ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนนักวางแผนการเงิน ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์ วาณิชธนกิจ/ธนบดิธนกิจ (IB) ผู้แนะนำการลงทุน เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน ผู้บรรยาย หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการเงินและการลวทุนและด้านการกำกับและตรวจสอบ
กองทุนมาเหน็จบำนาญขำราชการ (กบข.)ผู้จัดการกองทุน เจ้าหน้าที่สมาชิกสัมพันธ์
สำนักงานประกันสังคมเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการลงทุน
หน่วยงานกำกับดูแลเจ้าหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ
บริษัทประกันชีวิตเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน นักคณิตศาสตร์ประกันชีวิค ผู้พิจารณารับประกัน (Underwriter) และสินไหมประกันชีวิตเจ้าหน้าที่กำกับและตรวจสอบ ตัวแทนขาย เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ ผู้บรรยายด้านประกันชีวิต
อื่นๆ คามที่สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ 

ค่าขึ้นทะเบียน

1. ค่าธรรมเนียมคำขอ จำนวน 500 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 535 บาท)

2. ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพและสมาชิก

– นักวางแผนการเงิน CFP จำนวน 7,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7,490 บาท)

– ที่ปรึกษาการเงิน AFPT จำนวน 2,400 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 2,568 บาท)

– กรณีคำขอขึ้นทะเบียนไม่ผ่านการพิจารณา ไม่คืนค่าธรรมเนียมจำนวน 535 บาท

– ค่าธรรมเนียมการ คิดเพิ่ม ตามสัดส่วนระยะเวลาการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่เกิน 2 ปี

– กรณีที่ปรึกษาการเงิน AFPT ขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP จะได้รับ ส่วนลดค่าบำรุงสมาคม 3,000 บาท

รอบระยะเวลายื่น คำขอขึ้น ทะเบียน คุณวุฒิ วิชาชีพอนุมัติเดือนระยะเวลาคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFPที่ปรึกษาการเงิน AFPT
1ธ.ค .- ม.ค. – ก.พ.มี.ค.2 ปี 10 เดือน10,834 บาท4,066 บาท
2มี.ค.-พ.ค.มิ.ย.2 ปี 7 เดือน9,898 บาท3,745 บาท
3มิ.ย. – ส.ค.ก.ย.2 ปี 4 เดือน8,961 บาท3,424 บาท
4ก.ย. – พ.ย.ธ.ค.2 ปี8,025 บาท3,103 บาท

*ค่าธรรมเนียมรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม