หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศการลงทุน
วิทยาศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศการลงทุน)
ความสำคัญ สารสนเทศการลงทุน ?
ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก ในการพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของวิชาด้านสารสนเทศการลงทุน และรองรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูง ทั้งในด้านความเข้าใจด้านสารสนเทศการลงทุน และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้านมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการและการวิจัย และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
เป็นหลักสูตรที่ได้เรียนเนื้อหาทั้งด้านคอมพิวเตอร์ การลงทุน การวางแผนทางการเงิน เรียนปริญญาตรีใบเดียวได้ความรู้สองสาขา เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้ลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งในโปรแกรมเสมือนจริง และลงทุนจริง โดยจะได้รับคำแนะนำทั้งจากอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ อย่างใกล้ชิด
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก ในการพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของวิชาด้านสารสนเทศการลงทุน และรองรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูง ทั้งในด้านความเข้าใจด้านสารสนเทศการลงทุน และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้านมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการและการวิจัย และการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
1. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
2. วาณิชธนากร
3. เจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์
4. นักลงทุนรายบุคคล
5. ผู้ให้คำแนะนำด้านการลงทุน
6. ผู้ให้คำแนะนำด้านการวางแผนทางการเงิน
7. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
FinTech ย่อมาจาก Financial Technology หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน โดยคำว่า FinTech มักถูกนำมาใช้ในการเรียกบริษัท กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่คิดค้นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการให้บริการด้านการเงินและการลงทุนให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันประเทศไทยยังมีความต้องการบุคคลากรที่จะมาผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอุตสาหกรรมการเงินในอนาคต ทางหลักสูตรมีแผนที่จะผลิตผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดทุนประเทศไทย
โดยส่งเสริมการพัฒนานำไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างระบบธุรกรรมทางการเงินแบบไร้ขอบเขตและไม่จำกัดเฉพาะรูปแบบธุรกรรมที่กระทำผ่านสถาบันทางการเงินเท่านั้น ซึ่งจะผลักดันให้เกิดฟินเทคสตาร์ทอัพจำนวนมาก ที่นำเอาเทคโนโลยีทางการเงินไปพัฒนาเป็นบริการทางการเงิน ที่เข้าถึงมือผู้ใช้ทั่วโลกได้โดยตรง